วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Review รีวิว iPod nano Gen6 with Multi-Touch




รูปร่างหน้าตา
สำหรับ iPod nano 6G ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ทั้งรูปร่างและระบบควบคุม โดยรูปร่างภายนอกหดเล็กลงจากเดิมกว่าครึ่งเมื่อเทียบจากรุ่นก่อนหน้า ตัวเครื่องมาในรูปทรงเกือบสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 3.75 x 4.09 ซ.ม. และความหนาแค่ 0.87 ซ.ม. น้ำหนัก 21 กรัม (เท่ากับน้ำหนักของเหรียญ 1 บาทจำนวน 7 เหรียญ ) ด้านหน้าพกจอทัชสกรีนขนาด 1.54 นิ้ว เรื่องความละเอียดคงไม่ใช่ประเด็นหลักของจอขนาดนี้แม้ความละเอียดจะสูง 220 พิกเซลต่อตารางนิ้วมากกว่าหน้าจอของ iPhone 3GS เสียอีก (163 พิกเซลต่อตารางนิ้ว) ด้านบนจากซ้ายไปขวามีปุ่มปรับระดับเสียงและปุ่ม Power/Sleep ด้านล่างมีช่องต่อ Dock Connector และช่องเสียบหูฟัง 3.5 ม.ม.โดยช่องหูฟังถ้าเพ่งตรงขอบจะพบว่าความหนาของตัวเครื่องไม่น่าจะบางลง กว่านี้ได้แล้ว เพราะถูกจำกัดด้วยขนาดของช่องหูฟัง 3.5 ม.ม. ที่ไม่อาจเปลี่ยนได้ตามอำเภอใจ ถ้าจะทำให้ตัวเครื่องดูบางลงไปอีกอาจจะต้องใช้วิธีหลอกตาคล้าย ๆ กับ iPod touch ที่นำช่องหูฟังอยู่เยื้องไปด้านหลังเครื่องเล็กน้อยทำให้เครื่องบางลงได้อีก นิดหน่อย พลิกมาด้านหลังจะพบกับคลิปหนีบขนาดใหญ่เกือบเท่าตัวเครื่อง โดยตัวคลิปหนีบจากการคะเนด้วยสายตาสามารถเปิดได้กว้างราว ๆ 1 ซ.ม. และตรงคลิปหนีบนี้เองที่ทำให้ค้นพบว่าแอปเปิ้ลนำเลข Serial มาซ่อนไว้ตรงติ่งของคลิปหนีบ ซึ่งตัวหนังสือที่อยู่บริเวณนั้นก็เล็กจิ๋วแต่ก็พอจะอ่านออกว่าเป็นตัวอักษร ใดตัวเลขอะไร
อยากขาย ipod มาทางนี้ครับ ผมรับซื้อครับ ติดต่อ 08-0055-2124 อิฐ
รับซื้อ ipod touch Nano
Shuffle Classic VDO photo B/W เสียก็รับ ซื้อหมด ให้ราคาสูง 
เจนไหนก็ได้ ก็ได้ รับหมด ใช้งานปกติ สภาพภายนอก ok เสนอราคามาสนใจโทรกลับ

ติดต่อ 08-0055-2124 อิฐ นัดรับในเขต กทม. :-*
 ราคาแล้วแต่ต้องการครับ โทรมาคุยราคาได้เลยอยากได้เท่าไรว่ามาเลยครับ
สามารถเสนอราคาเองได้เลยนะครับ ราคาคุยกันได้เลย คุยง่ายครับ
รับซื้อตลอดเวลานะครับ โทรเข้ามาได้เลยครับ
รวมถึง รับซื้อ Notebook Netbook เครี่องเล่นเกม PSP NDS NDSL PS2 เราก็ รับซื้อ ด้วยครับ

ขอบคุณ http://www.siampod.com

สำหรับ วัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่องคงไม่ต้องเดาให้ยากว่าเป็นอะไร เพราะแอปเปิ้ลยังใช้อลูมิเนียมเหมือนเดิม โดยถ้านับแค่ตัวเครื่องจะเป็นอลูมิเนียมแบบหล่อทั้งชิ้นขึ้นมาแบบไม่มีรอย ต่อใด ๆ โดยชิ้นส่วนที่อยู่ด้านในเครื่องใช้วิธีใส่เข้าไปทางหน้าจอทั้งหมดแล้วจึง ประกอบชิ้นส่วนหน้าจอเป็นอันสุดท้าย สำหรับสีของ iPod nana 6G รุ่นนี้มีมาให้เลือกทั้งหมด 7 สีด้วยกันได้แก่สีเงิน, สีเงินรมดำ, สีน้ำเงิน, สีเขียว, สีส้ม, สีชมพู และสีแดง (สำหรับสีแดงต้องสั่งจาก Store Online เพียงอย่างเดียว) โดยสีของนาโนรุ่นนี้จะมาแนวออกสีเข้มกว่ารุ่นที่ผ่านมาเล็กน้อย สำหรับของที่มาด้วยในกล่องหลัก ๆ ก็มีจะมีสาย USB และหูฟังแบบธรรมดาที่ไม่มีรีโมทติดมาด้วย





ด้านการใช้งาน
เร่ิม กันตั้งแต่ซอฟท์แวร์ภายในมาในโฉมใหม่ทิ้งเมนูแบบตัวหนังสือเรียง กันลงมาตามแนวตั้งโดยสิ้นเชิง เพราะเมนูโฉมใหม่ของ iPod nano 6G มาแบบมีกลิ่นอายของ iPhone โดยเมนูหลักต่าง ๆ จะแทนด้วยไอคอนทั้งหมด โดยในหนึ่งหน้าจอสามารถแสดงผลได้ 4 ไอคอน โดยเมนูหลักทั้งหมดมี 14 ไอคอนใน 4 หน้า การใช้งานของเมนูแบบใหม่รองรับการใช้งานแบบ Multi-Touch คือรับรู้ได้ตั้งแต่การใช้นิ้ว 1 นิ้วจนถึง 3 นิ้ว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าในส่วนของผู้พิการ แต่โดยปกติก็จะใช้ 1 หรือ 2 นิ้วเท่านั้นในการควบคุม การเลื่อนเปลี่ยนหน้าจอเมนูไปมาจะเป็นแบบสไลด์ไปทางด้านข้างซ้ายขวา
เมื่อ กดเข้าไปเมนูต่าง ๆ แล้วเมนูย่อยด้านในก็จะเป็นเมนูตัวหนังสือเรียงกันตามแนวตั้ง โดยใน 1 หน้าสามารถแสดงผลได้ 4 เมนูย่อย การใช้งานก็ใช้นิ้วจิ้มที่หน้าจอเพื่อเลื่อนขึ้นเลื่อนลง และถ้าต้องการย้อนกลับมาหน้าก่อนหน้านี้ให้เลื่อนนิ้วจากทางซ้ายไปขวาจะเป็น การย้อนกลับสู่เมนูหรือคำสั่งก่อนหน้านี้
สำหรับ เมนูการตั้งค่า (Settings) เมนูย่อยเกี่ยวกับขนาดตัวอักษรไม่ปรากฏใน iPod nano 6G แล้ว แม้จะไม่ค่อยมีคนเลือกใช้งาน Large Font สักเท่าไหร่ใน iPod nano รุ่นก่อนหน้านี้ก็ตาม แต่พอมาเป็น iPod nano 6G เชื่อว่าคนที่สายตาไม่ค่อยดีอาจจะคิดถึงการเลือกขนาดตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้น เพราะตัวหนังสือที่อยู่ใต้ไอคอนแต่ละอันก็เล็กมากพอควร ส่วนตัวหนังสือที่เป็นเมนูย่อยต่าง ๆ ก็ไม่ได้ใหญ่มากนัก

และ ด้วยความที่เป็นเมนูไอคอนที่เหมือน ๆ กับ iPhone จึงทำให้แอปเปิ้ลเปิดทางให้เปลี่ยนภาพพื้นหลัง (Wallpaprer) ได้ด้วย โดยภาพพื้นหลังที่แอปเปิ้ลเตรียมไว้ให้มีทั้งหมด 9 ภาพด้วยกัน ซึ่งทั้งหมดโทนสีก็จะเป็นสีเข้ม ซึ่งจะช่วยให้ตัวไอคอนยังสามารถมองเห็นได้ชัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแอปเปิ้ลก็ไม่ได้เปิดโอกาสให้นำรูปที่เราใส่ไปเองในส่วน ของ Photos มาใช้เป็นภาพพื้นหลังได้เหมือนบน iPhone
สำหรับ ในส่วนของเมนูหลักที่เป็นไอคอนถ้าเราไม่ชอบหรือต้องการย้ายไอคอน เมนูที่เราใช้บ่อย ๆ ให้มาอยู่รวมกันในหน้าจอเดียวกันก็สามารถใช้นิ้วกดค้างที่ไอคอนใด ๆ ไว้สักพักเพื่อให้ไอคอนสั่นกระดุ๊กกระดิ๊กเพื่อทำการลากย้ายจัดระเบียบเมนู ที่ต้องได้ ซึ่งเมื่อจัดระเบียบเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ให้ทำการกดที่ปุ่ม Power/Sleep ด้านบนเพื่อให้ไอคอนหยุดสั่นเพื่อเป็นการสิ้นสุดการเคลื่อนย้ายไอคอนต่าง ๆ บนหน้าจอ
เกี่ยวกับการฟังเพลง
สำหรับ ส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟังเพลงเริ่มกันตั้งแต่เมนูไอคอนต่าง ๆ แบบสมัยก่อนที่ยังไงใช้ Clickwheel เราจะต้องกดเข้าเมนูหลัก Music เสียก่อนนั้น มาตอนนี้ไม่ต้องแล้วเพราะทุกเมนูย่อยที่อยู่ใน Music ถูกยกมาไว้เป็นไอคอนหมดแล้วทุกเมนู ซึ่งเมื่อกดเข้าไปก็จะเข้าไปสู่ส่วนนั้น ๆ ทันทีไม่ว่าจะเป็น Playlists, Artists, Songs และอื่น ๆ
สำหรับ การแสดงผลภาษาไทยในส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเพลงนั้นก็ยังคงแสดงผลได้ไม่ดีนัก เช่นในส่วนของเมนู Artist ที่เป็นการแสดงผลแบบแถวเดียวตัวอักษรภาษาไทยขนาดใหญ่อ่านง่าย โดยเมื่อเทียบขนาดตัวอักษรภาษาไทยในส่วนนี้กับบน iPhone 3GS พบว่ามีขนาดตัวหนังสือพอ ๆ กัน เพียงแต่ตัวอักษรภาษาไทยที่อยู่ใน iPod nano 6G จะเป็นฟอนต์แบบปกติส่วนที่อยู่ใน iPhone 3GS จะเป็นตัวหนา
สำหรับ การแสดงผลตัวอักษรภาษาไทยที่เป็น 2 แถวอย่างในเมนู Songs ตัวอักษรมีทั้งเล็ก(มาก)และใหญ่แล้วแต่ว่าชื่อเพลงสั้นยาวมากน้อยแค่ไหน โดยในส่วนของชื่อเพลงถ้าว่าเล็กมากแล้ว ชื่อศิลปินที่อยู่ข้างใต้ชื่อเพลงอีกทีก็เล็กลงไปอีก เท่าที่สังเกตเกี่ยวกับการแสดงผลชื่อเพลงภาษาไทยพบว่าถ้าเป็นกรณีที่ชื่อ เพลงไม่มีวรรณยุกต์ใด ๆ หรือมีวรรณยุกต์ในลำดับขั้นที่หนึ่ง เช่นไม้หันอากาศ การแสดงผลจะแสดงเป็นตัวใหญ่ แต่ถ้าเกิดชื่อเพลงนั้นไม่ว่าจะมีตัวอักษรสั้นแค่ไหน แต่ถ้ามีวรรณยุกต์ในลำดับขั้นที่สอง เช่น ไม้โท, ไม้ตรี, ไม้จัตวา การแสดงผลจะถูกปรับให้แสดงตัวเป็นตัวอักษรขนาดเล็กทันที เท่าที่ดูพบว่าเป็นปัญหาอยู่ภาษาเดียวเพราะภาษาไทยมีวรรณยุกต์สองชั้น ต่างจากภาษาอื่น ๆ ที่แม้จะมีตัววรรณยุกต์หรือตัวกำกับเสียงแต่ก็จะมีเพียงแค่ชั้นเดียว ทำให้สามารถแสดงผลเป็นอักษรใหญ่ได้ปกติ


การค้น หาชื่อเพลงหรือชื่อศิลปินใช้วิธีรูดนิ้วตรงแถบตัวอักษรด้านขวา มือเหมือนบน iPhone แต่แถบตัวอักษรจะแสดงจุดเร่ิมต้นที่ตัว A ถึงตัวสุดท้ายที่ตัว Z โดยถ้าเราต้องเลือกชื่อเพลงที่ขึ้นต้นด้วยอักษร L ก็ต้องทำการกะเอาเองว่าอยู่ประมาณไหน โดยเมื่อนำนิ้วไปแตะที่บริเวณริมหน้าจอด้านขวาและรูดนิ้วไปมาจะมีตัวอักษร ขนาดใหญ่ปรากฏขึ้นบนหน้าจอว่าตอนนี้เราลากนิ้วถึงหมวดตัวอักษรใด สำหรับชื่อภาษาไทยจะอยู่ด้านท้ายสุดต่อจากตัว Z และมีหมวดเครื่องหมาย # ซึ่งจะเป็นจุดเร่ิมของลำดับการค้นหาชื่อภาษาไทย

ถัดมา เกี่ยวกับการแสดงผลขณะเล่นเพลง ด้วยความที่หน้าจอเล็กมากทำให้ขณะเล่นเพลงเมนูที่เกี่ยวข้องดูเต็มทั่วทั้ง หน้าจอ โดยรวมถือว่ายังทำได้ดี จะติเล็กน้อยก็ตรงเวลาเลื่อนหน้าจอซ้ายขวาในส่วนนี้ที่นิ้วอาจจะไปแตะปุ่มคำ สั่งใด ๆ บนหน้าจอก่อนที่จะทำการเลื่อนเปลี่ยนหน้า ส่วนการแสดงเนื้อเพลงภาษาไทยตัวอักษรที่แสดงก็ไม่ได้เล็กมากนัก สามารถแสดงเนื้อร้องภาษาไทยจะแสดงได้หน้าจอละ 6 บรรทัด ส่วนถ้าเป็นเนื้อร้องภาษาอังกฤษจะแสดงผลได้ 8 บรรทัด การดูเนื้อเพลงใช้วิธีเลื่อนหน้าจอขึ้นลงเพื่อดูเนื้อร้องที่เหลือ
เกี่ยวกับวิทยุ
สำหรับ เมนูการฟังวิทยุ (Radio) หน้าตาหลัก ๆ ยังคงคล้าย ๆ รุ่นที่ผ่านมาโดยตัวเลขที่เป็นคลื่นวิทยุตัวใหญ่มองเห็นได้ชัดการเลือกคลื่น สามารถใช้นิ้วแตะตรงหน้าปัดแล้วเลื่อนไปมาได้จะเลื่อนแบบเร็ว ๆ ก็ปัดนิ้วแรงหน่อย จะเลื่อนช้าก็ค่อย ๆ ปัด สำหรับจุดเด่นอย่างเมนู Live Pause ยังอยู่ และมีเมนูใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการฟังวิทยุคือ Local Station คือให้เครื่องทำการค้นหาสถานีเองเท่าที่จะหาเจอทั้งหมด ข้อดีคือเวลาไปต่างจังหวัดเราก็จะได้ไม่ต้องมานั่งเดาว่าที่จังหวัดนั้น ๆ จะมีคลื่นวิทยุอยู่คลื่นใดบ้าง สำหรับการค้นหาสถานีวิทยุในส่วนของ Local Station เท่าที่ได้ลองในกรุงเทพก็จะเสียเวลานานเล็กน้อย เพราะมีสถานีวิทยุอยู่จำนวนมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่พบคลื่นวิทยุชุมชนเพราะระบบวิทยุสามารถแสดงผลคลื่น วิทยุได้เพียงแค่จุดทศนิยม .0 และ .5 เท่านั้น ทำให้คลื่นอื่น ๆ ที่ใช้ .25 หรือ .75 ไม่สามารถเปิดฟังได้

เกี่ยวการดูรูป
จอเล็ก แค่นี้ผมเชื่อว่าคนที่ตัดสินใจซื้อคงไม่ได้หวังผลอะไรอยู่แล้วใน การใช้ iPod nano 6G ไว้ดูรูป ซึ่งเมื่อได้ทดลองใช้งานก็เป็นไปตามคาดเพราะรูปที่แสดงเล็กจิ๋วจนคิดว่าจะมี ไปทำไมกัน และด้วยความที่หน้าจอรองรับการใช้งานแบบ Multi-Touch เชื่อว่าหลายคนก็น่าจะคิดว่าน่าจะใช้สองนิ้วจีบนิ้วเข้าออกเมื่อซูมดูรูปได้ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ แอปเปิ้ลไม่ได้ใส่ความสามารถนี้มาใน iPod nano 6G ด้วย
การใช้งานอื่น ๆ
ฟีเจอร์ ที่สตีฟ จ๊อบส์โชว์บนเวทีเมื่อครั้งเปิดตัวอย่างการใช้สองนิ้วจับหน้าจอหมุนไปมาได้ รอบด้านเท่าที่ได้ลองใช้งานจริงพบว่ามีประโยชน์มากถ้าคุณเป็นประเภทเหน็บตัว เครื่องไว้ตามเสื้อหรือขอบกางเกง เพราะเราจะได้ไม่ต้องหยิบเครื่องมาดูหน้าจอ แต่เพียงแค่หมุนหน้าจอให้พลิกมาหาเราก็สามารถกดปุ่มต่าง ๆ บนหน้าจอได้ไม่ผิดปุ่มผิดทิศสลับซ้ายขวาแล้ว
ส่วน ที่ดูจะมีประโยชน์หน่อยก็มีฟีเจอร์นาฬิกาที่สามารถตั้งค่าได้ว่า เมื่อกดปุ่ม Sleep/Wake ขึ้นมาแล้วให้หน้าจอแสดงนาฬิกาก่อนที่จะเข้าสู่หน้าจอปกติ โดยหน้าจอนาฬิกาจะเป็นแบบเข็มสามารถเลือกได้ว่าจะให้หน้าจอนาฬิกาเป็นสีขาว หรือสีดำ
Nike+iPod
สำหรับ การใช้งาน Nike+iPod ยังคงต้องใช้ตัวส่งสัญญาณต่อเข้ากับ iPod nano 6G อยู่เช่นเดิม ซึ่งพอประกอบร่างกันแล้วตามตา iPod nao 6G แลดูไม่ค่อยจะสมส่วนสักเท่าไหร่ เพราะตัวเซ็นเซอร์ที่นำไปต่อกลายเป็นว่ามีขนาดเกือบครึ่งหนึ่งของตัวเครื่อง เลยทำให้ดูต่างจากที่ผ่านมาที่พอต่อเข้าไปแล้วจะรู้สึกว่าตัวเซ็นเซอร์ไม่ ใหญ่มากเท่ากับเวลานำมาต่อกับ iPod nano 6G สำหรับหน้าตาของเมนู Nike+iPod โดยรวมยังคงเหมือน ๆ กับที่อยู่ใน iPod nano รุ่นที่แล้ว จุดที่น่าขัดใจคือ Power Song ที่ปกติถ้าใช้ใน iPod nano ที่ยังใช้งาน Clickwheel เราจะสามารถกดปุ่มตรงกลางเพื่อเปลี่ยนเป็น Power Song ได้ทันทีแบบไม่ต้องยกเครื่องขึ้นมาดู แต่มาคราวนี้ถ้าต้องการเปลี่ยนมาใช้เพลง Power Song จะต้องเลื่อนหน้าจอมาก่อนหนึ่งครั้งแล้วถึงจะเจอปุ่มกดเพลง Power Song ทำให้ไม่สะดวกเท่ากับการกดจาก Clickwheel
เกี่ยวกับส่วนช่วยเหลือผู้พิการ (Accessibility)
สำหรับ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการมีการเพิ่มเติมเสียงภาษาไทยเข้ามา ในส่วนของ VoiceOver เข้ามาสำหรับผู้พิการทางสายตา แต่ขอบอกตรง ๆ ว่าเสียงภาษาไทยเข้าขั้นห่วยอย่างร้ายกาจ เพราะการออกเสียงภาษาไทยเมื่อออกเสียงทับศัพท์ยังเพี้ยนมากพอสมควรเช่นคำว่า Settings ที่ควรออกเสียงว่า เซ็ต-ติ้ง ก็กลายเป็นออกเสียง เซ-ดิ้ง ส่วนเรื่องชื่อเพลงชื่อคนภาษาไทยถือว่าอ่านออกเสียงได้ดีพอควรแม้สำเนียงที่ พูดออกมาจะฟังดูแปลก ๆ ห้วน ๆ อยู่บ้าง การอ่านออกเสียงในส่วนอื่น ๆ เท่าที่ได้ลองอย่างเช่นตัวเลขในส่วนของสถานีวิทยุสามารถอ่านออกเสียงได้ ชัดเจน เช่น 103.5 fm ก็อ่านออกมาได้ว่า ‘หนึ่งร้อยสามจุดห้าเอฟเอ็ม’ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะเปิดให้อ่านออกเสียงภาษาไทยต้องเลือกในส่วน VoiceOver เป็นภาษาไทยเท่านั้น ส่วนการเลือก VoiceOver เป็นภาษาอังกฤษหรืออื่น ๆ ตัวเครื่องจะไม่สามารถออกเสียงภาษาไทยได้
สำหรับ ในส่วนของนาฬิกาที่เป็นภาพพักหน้าจอเมื่อกดปุ่ม Sleep/Wake ที่ปกติถ้าเราตั้งค่าไว้เวลาเปิดขึ้นมาจะเห็นนาฬิกาก่อนนั้น ถ้าเปิดใช้งาน Voice Over พอกดปุ่ม Power/Sleep เพื่อเปิดหน้าจอขึ้นมานั้น ตัวเครื่องจะกลับมาสู่หน้าจอสุดท้ายก่อนเครื่องหลับ (Sleep) ไม่แสดงผลหน้าจอนาฬิกาเหมือนที่เวลาปิดการใช้งาน VoiceOver
โดยรวม สำหรับการใช้งาน iPod nano 6G สำหรับผู้พิการทางสายตาถือว่าเปลี่ยนไปเยอะจากเดิมที่ใช้การควบคุณเป็น Clickwheel มาเปลี่ยนเป็นแบบจิ้ม ๆ หน้าจอก็ต้องเรียนรู้กันใหม่อีกพอควร แต่ก็ยังดีที่พอเปลี่ยนมาเป็นจอจิ้ม ๆ แล้วมีระบบ VoiceOver ภาษาไทยมาให้ด้วย ที่แม้จะไม่ได้ดีเลิศก็ตาม
เกี่ยวกับการบันทึกเสียง (Voice Memos)
สำหรับ การบันทึกเสียงผ่าน iPod nano 6G เหมือนจะย้อนยุคไปเหมือนเมื่อ 2 ปีก่อนหรือกว่านั้น เพราะตัวเครื่องไม่มีไมค์ติดมาด้วยเหมือน iPod nano 5G ทำให้เวลาต้องการใช้งานในส่วนนี้ต้องเสียบไมโครโฟนโดยเฉพาะ หรือใช้งานคู่กับหูฟังที่มีไมโครโฟนติดมาด้วยจึงจะเห็นเมนู Voice Memos ปรากฏขึ้นมา ส่วนการใช้งานทั่ว ๆ ไปก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษการบันทึกเสียงต่าง ๆ ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของไมโครโฟนและความห่างจากแหล่งเสียงว่าอยู่ใกล้หรือไกล มากน้อยแค่ไหน
เกี่ยวกับแบตเตอรี่
เท่า ที่ลองชาร์ทแบตเตอรี่เต็ม ๆ หนึ่งครั้งแล้วก็ใช้งานพร้อม ๆ กับกดนั้นนู้นนี่ไปเรื่อย ๆ เข้าเมนูนั้นออกมาเมนูนี้เพื่อนำมาเขียนรีวิวพบว่าตัวแบตเตอรีเริ่มขึ้นขีด แดงเมื่อผ่านไปได้ 15 ชั่วโมง (โดยประมาณ)
สรุป รวมความถึงความน่าใช้ของ iPod nano 6G เท่าที่ได้ลองใช้งานเสน่ห์และกลิ่นอายของ iPod nano ยังอยู่เพียงแต่ลดลงไปบ้าง เขียนมาถึงบรรทัดนี้ก็เหมือนกับว่าแอปเปิ้ลจับ iPod nano 6G มาเร่ิมต้นใหม่ในยุคของจอสัมผัสสำหรับตระกูล iPod nano ใหม่อีกครั้ง หลายอย่างยังทำได้ไม่ดีนักและหลายอย่างที่เคยมีก็ถูกตัดออกไปทำให้ iPod nano 6G ดูแล้วไม่ประทับใจเท่ารุ่นที่แล้ว ๆ มาที่ค่อย ๆ ดีขึ้นมาเรื่อย ๆ แค่จอสัมผัสจิ้ว ๆ ยังมีความประทับใจไม่พบสำหรับครั้งนี้
จุดสังเกต
  • หน้าจอมีขนาดเล็ก
  • ตัวเล็กพกง่าย
  • ไม่เหมาะกับการดูรูปเพราะหน้าจอเล็ก
  • ไม่สามารถใส่วิดีโอได้แล้ว
  • ระบบ Voice Over เกี่ยวกับภาษาไทยไม่ดีนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น